วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ชื่อโครงการ มหาวิทยาลัย Nottingham สร้างอาคารไร้คาร์บอนในจีน

ชื่อนักศึกษา ชุติมา อนุสนธิ์



แม้จีนจะเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดในโลกในตอนนี้ แต่ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแบบยั่งยืนของมหาวิทยาลัย Nottingham วิทยาเขต Ningbo ก็นับเป็นอาคารที่ไม่ปล่อยคาร์บอนเป็นอาคารแรกของจีน
อาคารแห่งนี้ใช้พลังงานหลักจากแสงอาทิตย์ร่วมกับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สามารถจ่ายพลังงานให้ทั้งตึกได้ถึงสองสัปดาห์หากไม่มีแสงอาทิตย์ ส่วนระบบทำความร้อนในอาคารนั้นใช้ความร้อนจากพื้นดินขึ้นมา และตัวอาคารได้รับการออกแบบเพื่อใช้แสงอาทิตย์ และลมจากภายนอกให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ภายในอาคารนี้มีทั้งห้องวิจัย ห้องเรียน และศูนย์ผู้เข้าชม คาดว่าอาคารนี้จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนตลอดอายุการใช้งาน 25 ปีได้ถึงกว่าพันตัน

cotton's natural world.






วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง 3


ปล่อยแสง 3



เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ กิจกรรมภายในโครงการ
“Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์”



โครงการที่ชอบ
โครงการที่ 1
ชื่อโครงการ หัวข้อวิทยานิพนธ์ โครงการออกแบบเครื่องประดับที่สะท้อนความรู้สึกเด็กที่มีเชื้อ HIV ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลือกปฏิบัติ

ผลงานการออกแบบของ ปัญจพล กุลปภังกร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

งานชิ้นนี้ที่ฉันได้ไปดู ส่วนใหญ่จะเป็นจิวรี่ เป็นจี้ ที่คล้าย symbol รูปเด็กที่สื้อถึงความทุกข์ ความเจ็บป่วย ต้องเจอด้วยโรคเอดส์รุมเร้าในชีวิต ขีวิตที่ต้องกินยาทุกวัน ฉีดยาบ่อยๆ เป็นในง่ามุมอีกมุมหนึ่ง ที่ฉันคิดว่าเค้าสื้ออกมาให้เราคิด แล้วเข้าใจสิ่งที่เค้าต้องการสื้อให้เรารับรู้เกี่ยวกับเด็กที่ติดโรคเอดส์ โดยผ่านผลงานการออกแบบเครื่องประดับ
เป็นถาพโดยรวมในงานปล่อยแสง 3

โครงการที่ 2
โครงการออกแลล Packaging มะม่วงสุก

ผลงานของ Poputh Nimchuar
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
ชิ้นนี้เห็นแล้วชอบมาก เพราะ packaging มะม่วงที่เค้าทำออกมา ดูเป็นของมีราคาขึ้นมาเลยทีเดียว ถึงแม้ว่า วัสดุที่เค้านำมาออกแบบนั้น เป็นของราคาถูก มีแค่กระดาษ และกล่องรังเท่านั้น และมันก็เหมาะมากที่จะนำมาใช้ในชีวิตจริง ซึ่งเค้าทำออกมาในสไตญี่ปุ่น น่ารักและดูดีมาก ขอชมด้วยใจจริงคะ ไม่มีรูปน่ะคะ



โครงการที่ 3
โครงการการออกแบบเสื้อผ้าจากผ้าปิดปากอนามัย
ผลงานการออกแบบของ วราภรณ์ ปานเพ็ชร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
โครงงานเกี่ยวกับเรื่องของความอันตรายต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเรา จะทำยังไงให้เรามีความปลอดภัยจากเชื้อโรคที่อยู่ในรอบๆตัวเราได้มากที่สุด ตอนแรกดูก็ไม่ค่อยน่าสนใจนะ แต่ฉันสนใจตรงที่เค้าออกแบบจากผ้าปิดปากอนามัยจริงๆ และสามารถใส่ได้จริง ซึ่งฉันคิดว่าทำได้ยากน่ะ ที่เราจะเอาผ้าปิดปากอนามัยมาเรียงต่อกันเป็นชุด

ยังไงก็อยากเชิญชวนเพื่อนๆไปดูงานกันเยอะๆน่ะ ยิ่งคนที่เรียนออกแบบอยู่แล้วยิ่งต้องไปดูเลย ถ้าใครไปดูไม่ทันก็ไม่เป็นไร ค่อยไปดูคราวหน้าก็ได้ รับรองต้องมีอีกแน่ ปล่อยแสง 4

Home โฮม เปิดหน้าต่างโลก



จะกล่าวได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีคุณภาพมีคุณภาพมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ มีการหยิบยกมุมมองใหม่ให้กับธรรมชาติที่สวยงามในสิ่งที่อาจมองข้ามไปจากมุมมองเดิมๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็น และตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม การใช้ทรัพยากรอย่างไม่หยุดหย่อน การเอาเปรียบธรรมชาติ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการสร้างและปลุกจิตสำนึกของมนุษย์ให้เกิดความรักต่อโลกของเรา และรักษาเอาไว้ให้นาน จากผลงานกำกับของ ยานน์ อาร์ทัส-เบอร์ทรานด์
Home ต้องการถ่ายทอดเรื่องราว ต่างๆจากทั่วทุกมุมโลกถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้น เพื่อต้องการให้เราทุกคนได้ตระหนักและหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติ ให้ช่วยกันปกป้องโลก เหมือนเราปกป้องบ้านของเราเอง
มนุษยชาติเหลือเวลาอีกไม่ถึง 10 ปีเพื่อกลับตัวกลับใจ เพื่อตระหนักถึงความอุดมสมบูรณ์ของโลกที่สูญสิ้นไปทุกหย่อมหญ้า และเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลาญทรัพยากร
20% ของประชากรโลกถลุงทรัพยาการของดาวดวงนี้ไปถึง 80%- ทั้งโลกใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์มากกว่านำเงินไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาถึง 12 เท่า- 5 พันคนต่อวันเสียชีวิตเพราะน้ำดื่มที่ปนเปื้อน และ 1 พันล้านคนไม่มีน้ำสะอาดไว้ดื่ม- 1 พันล้านคนกำลังหิวโหย- กว่า 50% ของเมล็ดธัญพืชที่ซื้อขายกันทั่วโลกใช้เป็นอาหารสัตว์และผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ- พื้นที่กสิกรรมเสื่อมสภาพไปถึง 40%- ทุกๆ ปี พื้นที่ป่าสูญหายไป 13 ล้านเฮกตาร์- 1 ใน 4 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, 1 ใน 8 ของนก และ 1 ใน 3 ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำใกล้จะสูญพันธุ์ - สัตว์หลายๆ สปีชี่ตายเร็วกว่าอายุขัยตามธรรมชาติถึง 1 พันเท่า- ผลิตผลทางการประมงลดน้อยลง สูญสิ้น หรือเสี่ยงต่อการสูญสิ้นถึง 75%- ตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานับว่าสูงที่สุด- แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกบางลงถึง 40% ในระยะเวลา 40 ปี- ก่อนถึงปี 2050 คาดว่าจะมีผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศอันเลวร้าย 200 ล้านคน